Difference between revisions of "Translation:Ufo scout txt/th"

From UFO:AI
Jump to navigation Jump to search
 
(No difference)

Latest revision as of 13:14, 2 October 2010

เนื้อหาจานบินอภิธาน

นำเสนอโครงการ

ถึง: ผู้บัญชาการฐาน, PHALANX, หน่วยปฏิบัติการแอตแลนติค

จาก: ผบ. พอล นาวาเร, ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: แผนกวิศวกรรม, PHALANX, หน่วยปฏิบัติการแอตแลนติค

วันที่: %02i %s %i

หัวข้อ: จานบิน -- ยานสอดแนม

ท่านผู้บัญชาการ เราเก็บกู้จานบินแบบใหม่ ซึ่งตอนนี้จอดอยู่ในโรงเก็บ และรอการแยกส่วนตรวจสอบ เราพร้อมจะเริ่มศึกษาและแยกส่วนยานบินเมื่อท่านอนุมัติ แต่เราต้องใช้ห้องวิจัยและเงินทุนในการประเมินคุณสมบัติและความสามารถของมัน

--ผบ. นาวาเร


ผลลัพธ์

ถึง: ผู้บัญชาการฐาน, PHALANX, หน่วยปฏิบัติการแอตแลนติค

จาก: ผบ. พอล นาวาเร, ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: แผนกวิศวกรรม, PHALANX, หน่วยปฏิบัติการแอตแลนติค

วันที่: %02i %s %i

หัวข้อ: Re: จานบิน -- ยานสอดแนม


ท่านผู้บัญชาการ, ทีมของผมทำการวิเคราะห์จานบินเล็กที่เราจับได้เสร็จสิ้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรม และเรากำลังตั้งตารอที่จะมีโอกาสในการนำวิทยาการที่ดีนี้มาลองใช้

โครงสร้างแปลกประหลาดของยานนั้นสร้างปัญหาที่เราต้องค้นหาคำตอบ การออกแบบดูไม่สมเหตุผลหากมองจากพื้นดิน แต่เมื่อเราได้มอง "ใต้กระโปรง" และทดสอบวัสดุห้องเครื่องในสภาพห้องวิจัย เราไ้ด้เข้าใจความสามารถของจานบินมากขึ้น ผมได้ทำรายการของการค้นพบที่สำคัญดังนี้

- ระบบขับเคลื่อนเป็นเครื่องยนต์จรวดที่ไม่เหมือนกับของโลก มันใช้การทำลายตัวระหว่าง สสาร-แอนทายแมทเทอร์ เพื่อสร้างแรงส่ง โดยการใส่โปรตอนและแอนทายโปรตอนเข้าในห้องสันดาป แล้วดันพลังระเบิดออกไปหลังเครื่อง ทำให้จานบินมีพลังมากและไม่ต้องใช้อากาศหรือก๊าซอื่นๆ ในการทำสันดาป ทำให้มันสามารถจุดระเบิดได้ในสูญญากาศ มีระบบหล่อเย็นแบบทันสมัยที่จะฉีดไนโตรเจนเหลวผ่านเครื่องยนต์ภายนอกเพื่อให้เครื่องเย็นและลดอินฟาเรด ความร้อนสะสมของเครื่องยนต์ยังนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าในยานด้วย

- เราไม่พบเครื่องมือการลงจอด หรือเครื่องมือการลอยตัวเหนือพื้นดินในยานบินนี้ ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้ถูกออกแบบให้ลงจอด หากมันสูญเสียเครื่องทั้งสองข้าง มันจะตก

- ถังเชื้อเพลิงมีขนาดเล็กมาก, วัดกันได้ไม่ถึงหนึ่งกรัม แต่ผมแทบจะหัวใจวายเมื่อพบว่ามีอะไรอยู่ในนั้้นบ้าง การบรรจุเต็มถังที่ 2/10 กรัม ซึ่งสามารถสร้างแรงระเบิดได้มากกว่า 8 กิโลตัน โดยเปรียบเทียบแล้วระเบิดที่ฮิโรชิมานั้นมีขนาด 13 กิโลตัน แน่นอนว่าถังนี้ถูกเสริมเกราะและติดตั้งอยู่ลึกที่สุดที่เป็นไปได้ และมีกลไกที่จะดีดถังทิ้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ก็ไม่สมบูรณ์แบบ การโจมตีโดนถังโดยตรงหรือระบบกักกันจะทำให้เกิดการระเบิด แรงระเบิดส่วนใหญ่จะถูกกักอยู่ในโครงสร้างจานบิน แต่การระเบิดนี้ก็เป็นภัยกับยานขับไล่ของเรา ข้อดีเพียงอย่างเดียวก็คือการระเบิดของแอนทายแมทเทอร์นั้นสร้างกัมมันตภาพรังสีเพียงเล็กน้อยหรือไ่ม่มีเลย

- ยานนี้ตรวจจับด้วยอุปกรณ์ของเราได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างตัวถังที่ดูดซับรังสี แต่เราก็ได้ผลดีกว่าด้วยการตรวจรังสีอินฟาเรดและรังสีแกมม่า เพราะเครื่องยนต์แอนทายแมทเทอร์นั้นสร้างรังสีดังกล่าวออกมามาก

- การออกแบบให้บาง (ทำให้มีการยกตัวไม่ดีและทำให้บังคับกลางอากาศได้ยาก) ส่วนหนึ่งมาจากน้ำหนักมหาศาลของวัสดุตัวถัง น้ำหนักส่วนเกินถูกเอาออกหมด และยานก็บินเร็วพอที่จะไม่ต้องพึ่งปีกมาก วัสดุนี้น่าทึ่งเพราะเป็นวัสดุผสมของโลหะกับพลาสติกโพลีเมอร์ มันยังเป็นโลหะผสมแบบมีความจำ ที่จะ "จดจำ" รูปร่างได้อย่างน้อยสองแบบ จะหดมาเป็นรูปร่างขนาดย่อมเมื่อเย็นตัว แต่จะขยายตัวและกลายสภาพพร้อมบินเมื่อมีความร้อน วัสดุนี้แข็งแกร่งกว่าทุกสิ่งที่เรารู้จัก เราต้องวิจัยสิ่งนี้เพิ่มเติม

- เราประเมินว่ายานนี้ไม่มีอาวุธ แต่มันติดสิ่งที่เป็นระบบเซนเซอร์ขนาดใหญ่สี่ทิศทางรอบห้องบังคับ ที่น่าสนใจคือมันไม่ได้ติดอุปกรณ์สื่อสารอะไรเลย ซึ่งนั่นก็ดูจะขัดกับบทบาทที่แน่ชัดในฐานะยานสอดแนม ตอนนี้เราทั้งหมดก็คงได้แต่เดากัน

เราเรียกยานประเภทนี้ว่า "ยานสอดแนม" เพราะมันดูจะเข้ากับัตถุประสงค์ของยาน โดยส่วนใหญ่มันถูกใช้เป็นยานเก็บข้อมูล และยานแนวหน้าในการสอดแนมก่อนการบุกของยานขนาดใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีอาวุธ เราก็ยังควรจะทำลายยานเหล่านี้หากเราิติดภาระอื่น เพราะอะไรก็ตามที่พวกต่างดาวทำก็เป็นสิ่งไม่ดีของเราทั้งนั้น

--ผบ. นาวาเร


ข้อมูลประเมินของยานสอดแนม:


ขนาด: เล็ก (6 ม. x 14 ม. x 3 ม.)

ความเร็วปกติ: +/- 1,600 กม./ชม.

ความเร็วสูงสุด: +/- 3,000 กม./ชม.

อัตราบรรทุกลูกเรือ: สูงสุด 3

อาวุธ: ไม่มี

Research Tree Data

(This information for reference only; do not translate or include in-game.)

Prerequisites:
 1 Scout UFO
Opens:
 Alien Materials
 UFO -- Fighter
 UFO -- Harvester
 Improved UFO Detection



See also Vehicles & UFOs

Ufo scout.jpg