Difference between revisions of "Translation:B powerplant txt/th"
m (moved สิ่งก่อสร้างในฐาน/แหล่งผลิตพลังงาน to Translation:B powerplant txt/th: Normalize translation pages) |
(No difference)
|
Latest revision as of 13:00, 2 October 2010
พิมพ์เขียว -- แหล่งผลิตพลังงาน
เอกสารลับ ระดับสีดำ
หน่วยรับมือมนุษย์ต่างดาว PHALANX
แผนผังการก่อสร้าง ข้อมูลระดับซิกม่า -- เฉพาะผู้บัญชาการเท่านั้น
วันที่เก็บ: 16 มีนาคม 2084
โดย: ผบ. พอล นาวาเร, แผนกวิจัยและพัฒนา ฝ่ายวิศวกรรม, PHALANX, หน่วยปฏิบัติการแอตแลนติค
ภาพรวม
PHALANX นั้นมีปัญหาในการสร้างพลังงานให้พอใช้นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งในปี 1955 ฐานเก่านั้นต้องสร้างไฟฟ้าจากแหล่งขนาดใหญ่ที่ไม่เกิดแสง (เช่นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ) ผ่านสายไฟหลายกิโล ฐานต้องพึ่งพาหลังงานจากภายนอก และจะหยุดทำงานเมื่อสายไฟเสีย การปฏิวัตินิวเคลียร์ของรัสเซียทำให้ฐานใต้ดินของเรามีอิสระในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการสนับสนุนการวิจัยที่ต้องใช้พลังงานมาก
ตัวเลือกของเราคือ HEFR (เตาปฏิกรณ์ฟิชชั่นพลังงานสูง) ของเยอรมัน ซึ่งมีระบบขยายกำลังที่มีประสิทธิภาพ มันเป็นเตาปฏิกรณ์ระดับต่ำกว่าจุดวิกฤติ ซึ่งเป็นเตาปฏิกรณ์ที่จะสร้างการฟิชชั่นโดยไม่สร้างผลกระทบลูกโซ่ต่อเนื่อง แต่จะใช้นิวตรอนจากภายนอก -- ในกรณีนี้คือตัวเร่งอนุภาค -- ในการกระตุ้นการตอบสนอง วิธีนี้จะสร้างพลังงานมากพอจะทำให้ตัวเร่งอนุภาคทำงาน และมีพลังงานเหลือที่จะนำไปใช้กับฐานส่วนที่เหลือ
ระบบ HEFR ใช้โธเรี่ยมแทนที่ยูเรเนียม และของเหลือนั้นจะสลายไปตามธรรมชาิติจนเหลือระบบกัมมันตภาพรังสีเท่ากับขี้เถ้าในเวลาเพียง 500 ปี โดยเปรียบเทียบ ครึ่งชีวิตของไอโซโทปของธาตุที่ใช้ในอาวุธนิวเคลียร์ และเตาปฏิกรณ์แบบเก่าอยู่ที่ 24,410 ปีสำหรับพลูโตเนียม (Pu-239)และ 700 ล้านปี สำหรับยูเรเนียม (U-235) ของเหลืออายุสั้นนี้จะกำจัดได้ง่ายด้วยระบบกำจัดธาตุที่อยู่ในการออกแบบ หลังจากผ่านเครื่องกำจัด ของเหลือจาก HEFR จะใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในการย่อยสลายให้เหลือระดับกัมมันตภาพรังสีที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์
เราออกแบบให้แกนเตาปฏิกรณ์ และเครื่องมือในการทำงานฝังติดกับเปลือดขนาดใหญ่ที่อยู่ลึกกว่าส่วนใดๆ ในฐาน มีแต่ถังหล่อเย็นกับทางเข้าส่วนควบคุม/บำรุงรักษาเท่านั้นที่จะอยู่ในระดับฐาน ซึ่งจะป้องกันความเสี่ยงอันน้อยนิดที่จะเกิดหากเตาปฏิกรณ์หลอมละลาย ในกรณีที่เราไม่สามารถแช่แข็งแกนกลางได้เลย
ผมยอมรับว่า ผมได้ลอกกว่าครึ่งของข้อกำหนดมาจากรายงานอื่นที่ผมอ่าน -- นิวเคลียร์ฟิสิกส์นั้นเป็นเรื่องเิกินปัญญาผม -- แต่ผมก็เข้าใจสถิติดีพอ พลังงานที่ผลิตได้จากแหล่งผลิตหนึ่งแห่งจะพอสำหรับความต้องการของฐานปกติ หากฐานมีสิ่งก่อสร้างที่่ใช้พลังงานสูงเช่นห้องวิจัยจำนวนมาก ก็อาจต้องสร้างแหล่งผลิตที่สอง แต่ก็ต้องมีการเพิ่มเติมการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยให้สอดคล้องกันด้วย เราสามารถเก็บพลังงานได้พอในฐานสำหรับการทำงานได้เป็นทศวรรษ ที่เก็บที่มีการป้องกันอย่างดีถูกติดไว้กับเตาปฏิกรณ์ทุกอัน และสามารถเติมได้หากจำเป้น
กฎข้อแนะนำ
ทุกฐานต้องมีแหล่งผลิตพลังงานอย่างน้อยหนึ่งแห่ง หากไม่มีแหล่งผลิตพลังงาน อุปกรณ์หลายอย่าง -- รวมถึงศูนย์บัญชาการ -- จะทำงานไม่ได้ ฐานที่ต้องใช้พลังงานมากอาจต้องใช้แหล่งผลิตสองถึงสามแห่งเพื่อให้ทำงานในระดับสูงสุด
กลยุทธ์การป้องกันฐานของเราควรต้องใส่ใจกับการป้องกันแหล่งผลิตพลังงาน ความเสียหายกับถังหล่อเย็นจะเป็นผลเสียร้ายแรง หากเราเสียการหล่อเย็น การรั่วไหลอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราอาจต้องลดเตาปฏิกรณ์หากมีการโจมตี แต่มันจะต้องใช้เวลานานจะเริ่มเครื่องใหม่ ซึ่งระหว่างนั้นเราจะไม่สมารถทำงานกับเครื่องจักรที่ต้องใช้พลังงานมากได้เลย อุปกรณ์อย่างเรดาร์ อุปกรณ์ห้องวิจัย หรือลิฟท์ของโรงเก็บเครื่องบิน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ไม่มี